19 November, 2012

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ FD5 ทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง


ถ่ายรูปในงานพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร 
16 พฤศจิกายน 2555 ณ มทร.ล้านนาตาก

FD5 Arch@Tak Boom


06 November, 2012

คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ กับงานตกแต่งกระทงกะลา ปี พ.ศ.2555









แนวความคิดในการตกแต่งกระทงกะลาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
ปี พ.ศ.2555

       กระทงกะลาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก ทำจากกะลามะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นของจังหวัดตากที่เหลือจากการนำมะพร้าวมาแปรรูปทำเป็นอาหารว่าง ที่เรียกว่า “เมี่ยง” ใส้เทียนใช้การฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกา เพื่อบูชาแม่กาเผือกของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เนื้อเทียนสีเหลืองนวลประกอบไปด้วยเทียนที่เหลือใช้และน้ำตาเทียนของวัดต่างๆผสมกับขึ้ผึ้งและวัสดุอื่นๆซึ่งเป็นสูตรพิเศษที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเอง และปรับปรุงจนได้กระทงกะลาที่มีแสงสว่างนวลสุกใส ลุกโชนสม่ำเสมอต่อเนื่องได้ยาวนาน ดูเย็นตา มีกลิ่นหอม และไม่มีควัน ตกแต่งตัวกะลาภายนอกให้เป็นรูปเรือสุพรรณหงษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่งในพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 นี้ ซึ่งพระองค์ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนาม "ราชมงคล" อันมีความหมายว่า "สถาบันอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา" ให้กับชื่อของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังได้รับพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 พร้อม พระมหาพิชัยมงกุฎ มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
       วัสดุที่ตกแต่งกระทงกะลา ทำด้วยรังไหมซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ อ.วังเจ้า จ.ตาก เป็นวัสดุหลัก มีสีเหลืองคล้ายกับสีประจำพระชนมวาร ความสูงของตีนกาวัดจากผิวเทียนถึงปลายตีนกาสูง 9 ซม. ความยาวของเรือสุพรรณหงษ์วัดจากคอไปถึงปลายหาง ยาวข้างละ 9 นิ้ว โดยกำหนดระยะให้เป็นเลขมงคลประจำรัชกาลที่ 9 เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อเหล่าคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก อย่างหาที่สุดมิได้

อาจารย์ปกรณ์ ลวกุล
รองคณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
(ผู้ให้ความหมาย)




16 August, 2012

FD Arch@Tak Mega Tour 2012

โครงการศึกษาดูงานการจัดแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์
ณ ikea , Mega Bangna BKK
14 สิงหาคม 2555
คณาจารย์ และ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 3


















27 June, 2012

โครงการปรับปรุงห้องเรียนสาขาออกแบบเครื่องเรือน พร้อมครุภัณฑ์

1. เหตุผลความจำเป็น :
จากผลการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยสาธารณะสาหรับนักศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก (โครงการวิจัยทุนสนับสนุนงานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา งบประมาณผลประโยชน์ (งานวิจัยในชั้นเรียน อ.ปกรณ์ ลวกุล) พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก) เป็นการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยจริงในปีการศึกษา 2553-2554 เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานอาคารเรียนของ สกอ. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บริเวณอาคารเรียน และอาคารบริการภายในคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสารวจทางกายภาพการใช้พื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ระยะเวลาดาเนินการวิจัย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน ปีการศึกษา 2554
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้พื้นที่สาธารณะที่เป็นห้องเรียนโดยภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ใช้งานได้จริง คิดเป็น ร้อยละ 117 โดยห้องเรียนเขียนแบบ มีปริมาณการใช้พื้นที่สูงที่สุด ร้อยละ 148 รองลงมาคือ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 111 และ โรงฝึกปฏิบัติงาน ร้อยละ 92 2) ผลการวิจัยสรุปรวมความต้องการพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอน เพิ่มเติม จานวน 4 ห้อง คิดเป็นพื้นที่ 418 ตร.ม. 3) พื้นที่เพิ่มเติมตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 44 ของพื้นที่เดิมที่สามารถใช้งานได้จริง 4) พื้นที่จำเป็นเร่งด่วน ในภาคการศึกษาที่ 2/2554 เป็นต้นไปนั้น ได้แก่พื้นที่ห้องเรียนบรรยาย และห้องเรียนเขียนแบบ รวมความต้องการพื้นที่ จานวน 4 ห้อง คิดเป็นพื้นที่ 418 ตร.ม.
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของสาขาออกแบบเครื่องเรือน คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ตาก มีพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสมกับปริมาณนักศึกษา การบริหารจัดการ และเพื่อการพัฒนาขยายตัวในอนาคต จึงขอเสนอโครงการปรับปรุงห้องเรียนสาขาออกแบบเครื่องเรือน คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
1. เพื่อปรับปรุงห้องเรียนและพื้นที่โรงงานบางส่วน ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการใช้พื้นที่จริง
2. เพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้องกับห้องเรียน อาคารสถานที่ สื่อการสอน และนวัตกรรมการศึกษา
2. ระยะเวลาการดำเนินการ 90 วัน  เริ่มต้นปี 2555   สิ้นสุดปี  2555  รวม  90 วัน
3. ข้อมูลเบื้องต้น
          3.1 ลักษณะอาคาร เป็นโครงการปรับปรุงโดยการตกแต่งภายในอาคารเรียนและปฏิบัติการ โครงสร้าง ค.ส.ล. สูง 2 ชั้น
          3.2 สถานที่ก่อสร้าง คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก เลขที่ 41/1 ถ.พหลโยธิน ต.ไม้งาม อ.เมืองตาก จ.ตาก
          3.3 พื้นที่  418 ตร.ม. @  2,095.22 บาท   
4. วงเงินงบประมาณ เงินงบประมาณผลประโยชน์สะสม รวมทั้งสิ้น 1,700,000 บาท
5. ข้อมูลพิกัดของสิ่งก่อสร้าง
          จุดที่ 1 Lat  16.902365 Long 99.124033        จุดที่ 2 Lat 16.902493  Long 99.124253
          จุดที่ 3 Lat 16.902298  Long 99.124092        จุดที่ 4 Lat 16.902411 Long 99.124301
6. แบบรูปรายการ ดำเนินการแล้ว
-  ดำเนินการปรับปรุงแบบรูปรายการ เดือนมีนาคม พ.ศ.2555
-  ปรับปรุงแบบรูปรายการแล้วเสร็จ เดือนเมษายน พ.ศ.2555
-  ขออนุมัติแบบรูปรายการ  เดือนมิถุนายน พ.ศ.2555
- ทำสัญญาก่อสร้าง เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555


ดำเนินโครงการ และ ออกแบบรูปรายการ โดย อ.ปกรณ์ ลวกุล


FD6 Training (Tanatat Chm.), Summer 2555