ถ่ายรูปในงานพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร
+Management for Productivity
19 November, 2012
06 November, 2012
คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ กับงานตกแต่งกระทงกะลา ปี พ.ศ.2555
แนวความคิดในการตกแต่งกระทงกะลาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
ปี พ.ศ.2555
กระทงกะลาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก ทำจากกะลามะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นของจังหวัดตากที่เหลือจากการนำมะพร้าวมาแปรรูปทำเป็นอาหารว่าง ที่เรียกว่า “เมี่ยง” ใส้เทียนใช้การฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกา เพื่อบูชาแม่กาเผือกของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เนื้อเทียนสีเหลืองนวลประกอบไปด้วยเทียนที่เหลือใช้และน้ำตาเทียนของวัดต่างๆผสมกับขึ้ผึ้งและวัสดุอื่นๆซึ่งเป็นสูตรพิเศษที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเอง และปรับปรุงจนได้กระทงกะลาที่มีแสงสว่างนวลสุกใส ลุกโชนสม่ำเสมอต่อเนื่องได้ยาวนาน ดูเย็นตา มีกลิ่นหอม และไม่มีควัน ตกแต่งตัวกะลาภายนอกให้เป็นรูปเรือสุพรรณหงษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่งในพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 นี้ ซึ่งพระองค์ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนาม "ราชมงคล" อันมีความหมายว่า "สถาบันอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา" ให้กับชื่อของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังได้รับพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 พร้อม พระมหาพิชัยมงกุฎ มาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
วัสดุที่ตกแต่งกระทงกะลา ทำด้วยรังไหมซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ อ.วังเจ้า จ.ตาก เป็นวัสดุหลัก มีสีเหลืองคล้ายกับสีประจำพระชนมวาร ความสูงของตีนกาวัดจากผิวเทียนถึงปลายตีนกาสูง 9 ซม. ความยาวของเรือสุพรรณหงษ์วัดจากคอไปถึงปลายหาง ยาวข้างละ 9 นิ้ว โดยกำหนดระยะให้เป็นเลขมงคลประจำรัชกาลที่ 9 เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อเหล่าคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก อย่างหาที่สุดมิได้
อาจารย์ปกรณ์ ลวกุล
รองคณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
(ผู้ให้ความหมาย)
Subscribe to:
Posts (Atom)