08 June, 2011

ประมวลการสอนรายวิชา เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (Course Syllabus)

ตอนที่ 1 เป้าหมายของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตวิชาเอกออกแบบเครื่องเรือนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบ การวางแผน การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องเรือน กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตในขั้นตอนต่างๆ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในวิชาชีพการออกแบบ วิจัยและพัฒนาเครื่องเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อฝึกฝนให้มีความคิดริเริ่ม มีกิจนิสัยในการค้นคว้า ปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถแก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล ปฏิบัติงานด้านหลักวิชาที่มีการวางแผนและควบคุมอย่างรอบคอบ ซึ่งก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ตรงต่อเวลาและมีคุณภาพ
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจิตสำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

ตอนที่ 2

1. รหัสวิชา 01-130-203
2. ชื่อวิชา (ภาษาไทย) เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม
(ภาษาอังกฤษ) Industrial Economics
3. จำนวนหน่วยกิต 3 (3-0-3)
4. คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม
วิชาเอกออกแบบเครื่องเรือน
5. ภาคการศึกษา 1
6. ปีการศึกษา 2554
7. ชื่ออาจารย์ผู้สอน อ.ปกรณ์ ลวกุล
8. ลักษณะวิชา วิชาศึกษาทั่วไป
9. ชื่อหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต วิชาเอกออกแบบเครื่องเรือน
10. วิชาระดับ ปริญญาตรี
11. จำนวนชั่วโมงที่สอน/สัปดาห์ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์


12. เนื้อหารายวิชา (Course description)
ศึกษาความหมายของอุตสาหกรรม วิวัฒนาการของระบบอุตสาหกรรม ระบบอุตสาหกรรมร่วมสมัย ทำเลที่ตั้งของอุตสาหกรรม กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรม การจัดองค์กรอุตสาหกรรมและการกระจายผลผลิตที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภค ตลอดจนทิศทางการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม

13. วัตถุประสงค์ทั่วไปและ/หรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. บอกประเภท และลักษณะของอุตสาหกรรมได้
2. อธิบายวิวัฒนาการของระบบอุตสาหกรรม และระบบอุตสาหกรรมร่วมสมัยได้
3. เข้าใจหลักการและความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งของอุตสาหกรรม
4. อธิบายกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรมได้
5. อธิบายนโยบาย และหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมได้
6. เข้าใจหลักการจัดองค์กรอุตสาหกรรม
7. อธิบายวิธีการกระจายผลผลิตที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคได้
8. อธิบายทิศทางการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมได้
9. เห็นความสำคัญของรายวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม


15. วิธีจัดการเรียนการสอน
+ การบรรยาย
+ การบรรยายเชิงอภิปราย
+ การระดมสมองและการอภิปรายกรณีศึกษา
+ การสรุปประเด็นสำคัญ หรือการนำเสนอ
+ การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self - Study)
+ การเรียนรู้จากการทำงาน (Work – Based Learning)
+ การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Approach)
+ การสาธิต
+ การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)
+ การสอนแบบผลิตภาพ (Productivity – based Learning)

16. สื่อการสอน
+ สื่อนำเสนอในรูปแบบ PowerPoint  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ / เว็บไซต์
+ สื่อของจริง เช่น ผลงานตัวอย่างงาน 2 มิติ 3 มิติ  แผนภูมิประกอบการอธิบาย

17. การวัดผลการเรียน
1. การเข้าชั้นเรียนและความประพฤติ 10 คะแนน
2. ผลงานภาคปฏิบัติ 30 คะแนน
งานย่อย (รายสัปดาห์ จำนวน 10 ชิ้นงาน)
งานโครงการ (รายภาค จำนวน 1 ชิ้นงาน)
3. การนำเสนอ 20 คะแนน
4. สอบกลางภาคเรียน 25 คะแนน
5. สอบปลายภาคเรียน 25 คะแนน
รวม 100 คะแนน


19. หนังสืออ่านประกอบ
1. เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้แต่ง ชนินทร์ มีโภคี, รศ. ดร.
2. เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้แต่ง อาธิ ครูศากยวงศ์
3. เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Economics) โดย รองศาสตราจารย์กฤช ภูริสินสิทธ์

20. งานวิจัย/บทความวิจัย/บทความวิชาการ/สื่ออิเล็กทรอนิกส์/เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง
1. http://www.fti.or.th/2008/thai/index.aspx สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2. http://www.industry.go.th/page/home2.aspx กระทรวงอุตสาหกรรม
3. http://th.wikipedia.org
4. http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=EC320

หมายเหตุ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 อาจารย์ผู้สอนสำเนาแจกให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน

แหล่งข้อมูลประกอบการเรียน
เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Economics) โดย รองศาสตราจารย์กฤช ภูริสินสิทธ์

No comments:

Post a Comment