07 June, 2012

รายงานการวิจัย การวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยสาธารณะ สำหรับนักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก (Analyzing the Appropriateness of Public Space for Faculty of Fine Arts and Architecture Students)


รายงานการวิจัย

การวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยสาธารณะสำหรับนักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
(Analyzing the Appropriateness of Public Space for Faculty of Fine Arts and Architecture Students)

ผู้วิจัย นายปกรณ์  ลวกุล
(โครงการวิจัยทุนสนับสนุนงานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา งบประมาณผลประโยชน์ (งานวิจัยในชั้นเรียน) พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก)


บทคัดย่อ
        การวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยสาธารณะสำหรับนักศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยจริงในปีการศึกษา 2553-2554 เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานอาคารเรียนของ สกอ.
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บริเวณอาคารเรียน และอาคารบริการภายในคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจทางกายภาพการใช้พื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ระยะเวลาดำเนินการวิจัย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน ปีการศึกษา 2554

ผลการวิจัยพบว่า
1)  สภาพการใช้พื้นที่สาธารณะที่เป็นห้องเรียนโดยภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ใช้งานได้จริง คิดเป็น ร้อยละ 117 โดยห้องเรียนเขียนแบบ มีปริมาณการใช้พื้นที่สูงที่สุด ร้อยละ 148 รองลงมาคือ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 111 และ โรงฝึกปฏิบัติงาน ร้อยละ 92
2)  ผลการวิจัยสรุปรวมความต้องการพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอน เพิ่มเติม จำนวน 4 ห้อง คิดเป็นพื้นที่ 418 ตร.ม.
3)  พื้นที่เพิ่มเติมตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 44 ของพื้นที่เดิมที่สามารถใช้งานได้จริง
4)  พื้นที่จำเป็นเร่งด่วน ในภาคการศึกษาที่ 2/2554 เป็นต้นไปนั้น ได้แก่พื้นที่ห้องเรียนบรรยาย และห้องเรียนเขียนแบบ


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

        คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก เป็นหน่วยงานจัดตั้งในรูปแบบขององค์กรเสมือน (Virtual Organization) ดำเนินการตามภารกิจหลักของหน่วยงานในระดับอุดมศึกษา 4 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน และ 4) ด้าการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเปิดการสอนเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี สาขาออกแบบอุตสาหกรรม สังกัดคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสาขาการออกแบบเครื่องเรือน 4 ปี จำนวน 1 ห้องเรียน ปัจจุบันในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 มีจำนวนนักศึกษารวม 4 ชั้นปี จำนวน 110 คน จำนวนบุคลากรของคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์มีจำนวน 10 คน จำแนกเป็น ข้าราชการประจำสายสอน จำนวน 5 คน พนักงานมหาวิทยาลัยอัตราจ้าง สายสอน จำนวน 2 คน สายสนับสนุน จำนวน 3 คน
        พื้นที่ใช้สอยของคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปัจจุบันมีอาคารเรียนและฝึกปฏิบัติการ จำนวน 2 หลัง คือ 1) อาคารโรงฝึกงานสาขาวิชาออกแบบเครื่องเรือน 1 หลัง 2) อาคารเรียนและสำนักงาน 1 หลัง และมีพื้นที่สวนสาธารณะและที่จอดรถ 1 พื้นที่ หากพิจารณาจากหลักการจัดตั้งหน่วยงานในรูปแบบขององค์กรเสมือน (Virtual Organization) แล้ว พบว่า ยังขาดพื้นที่ใช้สอยสำคัญที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติงาน การวิจัยโครงงาน การทบทวนบทเรียน และกิจกรรมนักศึกษาอื่นๆ ในส่วนต่างๆอีกมาก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยสาธารณะสำหรับนักศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก ในภาคการศึกษาที่ 2/2553  และภาคการศึกษาที่ 1/2554 เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจวางแผนการใช้อาคารเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยดำเนินการศึกษาและตรวจสอบความถูกต้องกับหน่วยงานที่ใช้อาคารนั้น พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการสำรวจอาคารเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ห้องเรียนแต่ละอาคาร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาอัตราการใช้ห้องและอัตราการใช้พื้นที่ห้อง โดยข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่ วิชาที่ทำการสอน จำนวนชั่วโมงที่ใช้ห้องและจำนวนนักศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนจริง

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัย
เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ใช้สอยสาธารณะสำหรับนักศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

ขอบเขตของการวิจัย 
ศึกษาวิจัยพื้นที่ใช้สอยสาธารณะสำหรับนักศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก ในภาคการศึกษาที่ 2/2553 และภาคการศึกษาที่ 1/2554

กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย
บริเวณอาคารเรียน อาคารฝึกงาน และอาคารบริการ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

วิธีการดำเนินงานวิจัย
        รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยจริง ในภาคการศึกษาที่ 2/2553 และภาคการศึกษาที่ 1/2554 เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานอาคารเรียนของ สกอ.
        กลุ่มตัวอย่าง คือ บริเวณอาคารเรียน และอาคารบริการภายในคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ
        การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การประมวลผลด้วย
         - โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพ
         - วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น
        ระยะเวลาการดำเนินงาน
เวลาในการปฏิบัติงานวิจัย 16 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
1.5.1 พื้นที่ใช้สอยสาธารณะ หมายถึง บริเวณที่เป็นพื้นที่สำหรับการศึกษา การฝึกปฏิบัติงาน ได้แก่ ห้องเรียนบรรยาย ห้องเรียนเขียนแบบ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โรงฝึกปฏิบัติงาน



สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยเพื่อวิเคราะห์การใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะสำหรับนักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ สรุปผลการวิจัย และมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
1)  สภาพการใช้พื้นที่สาธารณะที่เป็นห้องเรียนโดยภาพรวม เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ใช้งานได้จริง คิดเป็น ร้อยละ 117 โดยห้องเรียนเขียนแบบ มีปริมาณการใช้พื้นที่สูงที่สุด ร้อยละ 148 รองลงมาคือ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 111 และ โรงฝึกปฏิบัติงาน ร้อยละ 92
2)  ผลการวิจัยสรุปรวมความต้องการพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอน เพิ่มเติม จำนวน 4 ห้อง คิดเป็นพื้นที่ 418 ตร.ม.
3)  พื้นที่เพิ่มเติมตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 44 ของพื้นที่เดิมที่สามารถใช้งานได้จริง
4)  พื้นที่จำเป็นเร่งด่วน ในภาคการศึกษาที่ 2/2554 เป็นต้นไปนั้น ได้แก่พื้นที่ห้องเรียนบรรยาย และห้องเรียนเขียนแบบ

ข้อเสนอแนะ
1)  การบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะสำหรับนักศึกษาคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังมีความต้องการอยู่ในระดับสูง โดยหากเปรียบเทียบกับพื้นที่ห้องเรียนที่มีอยู่เดิม พบว่า มีความต้องพื้นที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานถึง ร้อยละ 44 ของพื้นที่เดิม เห็นควรพิจารณานำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการปรับปรุงต่อเติมอาคารเดิมที่เป็นอาคารสำนักงาน ซึ่งยังมีพื้นที่ว่าง และอาจต่อเติมพื้นที่ภายในโรงฝึกงานเป็นห้องอื่นๆเพิ่มเติม
2)  การวิจัยครั้งนี้ได้พิจารณาวิเคราะห์เพียงห้องเรียนที่มีอยู่เดิม โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามมาตรฐานเท่านั้น ในส่วนของพื้นที่สาธารณะอื่นที่มีความจำเป็นในการเรียน การประกอบกิจกรรมของนักศึกษาส่วนอื่นๆ ก็ยังมีความจำเป็นอยู่มาก เช่น ห้องสมุด ห้องทบทวนบทเรียน ห้องปฏิบัติงานโครงการ ห้องสโมสรนักศึกษา ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องประชุม-สัมมนา เป็นต้น
3)  การออกแบบปรับปรุงต่อเติมอาคารที่มีอยู่เดิม ควรจะได้พิจารณาถึงความต้องการองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ประกอบด้วย ความต้องการพื้นที่จอดยานพาหนะ ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนตร์ ความต้องการพื้นที่สวนสาธารณะของนักศึกษา
4) จากการวิจัยพบว่า บริเวณป้ายชื่อคณะฯ ยังมีขนาดที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นคณะวิชา อีกทั้งสภาพทางเข้า-ออก ยังไม่ชัดเจน เห็นควรเสนอให้มีการออกแบบป้ายชื่อคณะฯให้มีเอกภาพ มีการออกแบบทางเข้าที่เป็นทางการ โดยอาจออกแบบพื้นที่ทางเข้าให้สัมพันธ์กับพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการผลงานของอาจารย์และนักศึกษาให้สอดคล้องกัน

No comments:

Post a Comment